เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 5.วัสสการสูตร

2. มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้
3. เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำของคฤหัสถ์
4. ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในการงานที่
จะต้องช่วยกันทำนั้น ๆ สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
นี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าข้าพเจ้าพึงยินดี ขอ
ท่านพระโคดมทรงยินดีตามข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าพึงคัดค้าน ขอท่านพระโคดมทรง
คัดค้านตามข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่าน เรา
บัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลในโลกนี้
1. ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่
มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ความเป็นผู้มีกุศลธรรม
2. ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะ
ตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนาจะดำริเรื่องใด
ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย
3. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
4. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่านเลย เราบัญญัติบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :56 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 5.วัสสการสูตร

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก พวกข้าพเจ้าจะทรงจำท่านพระโคดมไว้
ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้ว่า แท้ที่จริง ท่านพระโคดมทรงปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่
ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ท่านพระโคดมทรง
ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ทรงปรารถนาจะตรึกตรอง
เรื่องใด ก็ไม่ทรงตรึกตรองเรื่องนั้น ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น
ไม่ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ทรงถึงความเชี่ยวชาญในจิตใน
แนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย ทรงได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทรงทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านกล่าววาจาแสดงความเห็นด้วยใน
เรื่องนี้ และเราจักเฉลยแก่ท่านว่า แท้ที่จริง เราปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มี
กัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ก็เราปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึก
ตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนา
จะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย เราได้ฌาน 4 อันมีใน จิตยิ่ง
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
บุคคลผู้รู้แจ้งทางปลดเปลื้องสรรพสัตว์
จากบ่วงแห่งมัจจุราช ประกาศธรรมที่ควรรู้
ที่เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์
อนึ่ง ชนจำนวนมากเลื่อมใส
เพราะเห็นหรือได้ฟังข่าวของบุคคลใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :57 }